
ในปัจจุบันมีผู้ที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การรับประทานเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ ให้โปรตีนสูงถือว่ากำลังเป็นที่นิยม เพราะโปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและฟื้นฟูให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วจากอาการเหนื่อยล้า อีกทั้งยังช่วยในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ โดยร่างกายต้องได้รับโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการดังต่อไปนี้
ความต้องการปริมาณโปรตีน/วันต่อน้ำหนักตัว 1 กก ของแต่ละกลุ่มบุคคล(อ้างอิงที่ 1)
กลุ่มบุคคล |
ความต้องการปริมาณโปรตีน/วัน |
ต่อน้ำหนักตัว 1 กก |
|
บุคคลทั่วไปและผู้ที่รักสุขภาพ |
0.8 -1 กรัม |
ผู้ที่ออกกำลังกายเพื่อต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ |
1.4-2.0 กรัม |
ผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ65 ปีขึ้นไป |
1.0-1.2 กรัม |
ผู้สูงอายุที่มีอาการเจ็บป่วยและเป็นโรคเรื้อรัง |
1.2-1.5 กรัม |
ดังนั้น เวย์โปรตีน จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ง่าย สะดวก และให้ปริมาณโปรตีนสูงตามที่ร่างกายต้องการ
เวย์โปรตีน (Whey protein)เป็นโปรตีนที่สกัดได้จากน้ำนม โดยการนำนมวัวมาสกัดเอาส่วนที่เป็นคาร์โบไฮเดรตและไขมันออกไปให้เหลือเพียงส่วนที่เป็นโปรตีนเข้มข้น
เวย์โปรตีนไอโซเลท (Whey Protein Isolate)เป็นเวย์โปรตีนที่มีความเข้มข้นของโปรตีนสูงถึง 95%ทำให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมไปใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งมีกรดอะมิโนที่จำเป็น (Essential amino acid) ครบถ้วน โดยเฉพาะกรดอะมิโนชนิด Branched-chain amino acid(BCAAs) ได้แก่ Leucine Isoleucine และValine ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเสริมสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ
จากงานวิจัยพบว่าการรับประทานเวย์โปรตีนส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายดังนี้ (อ้างอิงที่ 2,3)
กรดอะมิโน BCAAsเป็นกลุ่มกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ (Essential amino acids) ได้แก่ Leucine, Isoleucine และ Valine โดย BCAAs สามารถกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน และยับยั้งการสลายตัวของโปรตีนในกล้ามเนื้อ ช่วยเผาผลาญไขมัน และ ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงอีกด้วย(อ้างอิงที่ 7,8)
คอลลาเจน (Collagen)เป็นสารที่เป็นองค์ประกอบของผิวที่มีมากกว่า 70 %ของโปรตีนที่ผิว โดยคอลลาเจนจะมีส่วนช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความเต่งตึง ความชุ่มชื้นและลดเลือนริ้วรอยให้กับผิวพรรณ
คอลลาเจนบริสุทธิ์โมเลกุลขนาดเล็ก มีความแตกต่างจากคอลลาเจนทั่วไปดังนี้
สังกะสี (Zinc) หนึ่งในแร่ธาตุที่จำเป็นต่อสุขภาพ ร่างกายเราไม่สามารถผลิตเองได้ มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนและดีเอ็นเอของร่างกาย หากร่างกายขาดสังกะสีจะส่งผลให้ร่างกายเบื่ออาหาร เหนื่อยและเมื่อยล้า อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ โดยประโยชน์ของสังกะสีต่อร่างกายมีดังต่อไปนี้
วิตามินซี (Ascorbic Acid)เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย แลมีส่วนช่วยให้ร่างกายผลิตและรักษาระดับของคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ใช้ในการสร้างกระดูก เส้นเอ็น และผิวหนัง (อ้างอิงที่ 11)
วิตามินบีรวม (B-Complex)มีความสำคัญโดยตรงต่อการออกกำลังกาย คือ B1, B3, B6, B9และ B12 เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานให้กับกล้ามเนื้อในระหว่างออกกำลังกาย ทำลายอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นระหว่างออกกำลังกายอย่างหนัก ซ่อมแซมกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย ซึ่งกรดโฟลิค (วิตามินบี 9) และ B12จำเป็นต่อการสังเคราะห์โปรตีน การสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย(อ้างอิงที่ 12)
อินนูลิน และ โอลิโกฟรุกโตส (Innulin and Oligofructose)เป็นใยอาหารที่ไม่ให้พลังงาน มีสมบัติเป็นพรีไบโอติก (PREBIOTIC) คือเป็นอาหารของแบคทีเรียที่ดีในลำใส้ใหญ่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายดังต่อไปนี้
น้ำมะพร้าวผง (Coconut Juice Powder)ประกอบด้วยเกลือแร่ในปริมาณสูง เช่น โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส น้ำมะพร้าวจะถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่ให้เกลือแร่ทดแทนได้ดี ช่วยรักษาสมดุลของน้ำภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการบรรเทาการหดตัวของกล้ามเนื้อและป้องกันการเป็นตะคริวได้อีกด้วย(อ้างอิงที่ 14)
การที่ร่างกายได้รับปริมาณโปรตีนที่เพียงพอต่อความต้องการ จะช่วยให้อวัยวะต่างๆภายในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังลดโอกาสการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆที่ตามมาได้อีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
1. Nicolaas E.P. Deutz, Bauer, J.M., Barazzoni, R., Biolo, G., Boirie, Y., Bosy-Westphal, A., Cederholm, T., Cruz-Jentoft, A., Krznariç, Z., Nair, K.S., Singer, P., Teta, D., Tipton, K. and Calder, P.C.2014.Protein intake and exercise for optimal muscle function with aging: Recommendations from the ESPEN Expert Group. Clinical Nutrition. 33:929-936.
2. Ewan, Ha. And Michael, B. Z. 2003. Functional properties of whey, whey components, and essential amino acids: mechanisms underlying health benefits for active people (review). The Journal of nutritional biochemistry. 14(5):251-258.
3. Matthew, B.C., Emma, R., Christos, G.S., Paul, J.C. and Alan, H. 2010. Whey protein isolate attenuates strength decline after eccentrically-induced muscle damage in healthy individuals. Journal of the International Society of Sports Nutrition. 7(30):1-9.
4. Farthing, I., Smith-Palmer, T.2001. The effect of whey protein supplementation with and without creatine monohydrate combined with resistance training on lean tissue mass and muscle strength. Journal of sport nutrition and exercise metabolism. 45(5):998-1003.
5. Keri Marshall, N.M. 2004. Therapeutic Applications of Whey Protein. Alternative Medicine Review. 9(2):136-156.
6.Landi, F., Calvani, R., Tosato, M., Martone, A.M., Ortolani, E., Savera, G., D’Angelo, E., Sisto, A. and Marzetti, E. 2016. Protein Intake and Muscle Health in Old Age: From Biological Plausibility to Clinical Evidence. Nutrient. 295:8
7.Tipton, K.D. 2017. Branched-chain amino acid supplementation to support muscle anabolism following exercise.Sports Science Exchange. 28(170): 1-6.
8.Jackman, S.R., Witard, O.C., Philp,A., Wallis, G.A., Baar,,K. and Tipton, K.D. 2017 .Branched-chain amino acid ingestion stimulates muscle myofibrillar protein synthesis following resistance exercise in humans. Original research. 8:1-12.
10.Chiranjib, D.B. Sampath Kumar, K.P. 2010. A potential medicinal importance of zinc in human health and chronic disease. Int J Pharm Biomed Sci. 1(1), 05-11.
11.Vikran, S.T., Lsaac, T. 2011. Vitamin C As an antioxidant supplement in women’s health: a may in need of urgent burial. Europran Joural of Obstetrics& Gynececology and Reproductive Biology. 157:10-13..
12.Woolf.K and ManoreM.M. 2006. B-Vitamins and Exercise: Does Exercise Alter Requirements?. International Journal of Sport Nutrition and Exercise Metabolism. (16): 453-484.
13.วารสารโภชนาการ. 2010. อินนูลินและฟรุกโตโอลิดกแซคคาไรด์เพื่อสุขภาพ. 45(2):1-13
14.DebMandal M, Mandal S. Coconut (Cocos nucifera L.: Areaceae): In health promotion and disease prevention. Asian Pacific J Trop Med 2011: 241-7.
ต้องการอัพเดทข้อมูลโปรโมชั่นของกิฟฟารีนก่อนใคร
รับข่าวสารจากเรา เพียงแค่ใส่ข้อมูลติดต่อของท่านด้านล่าง
*ถ้าต้องการยกเลิกรับข่าวสาร กรุณากดที่ "Unsubscribe"
ติดตามเราได้ที่
ติดตามความเคลื่อนไหว
ของกิฟฟารีน